คุณแม่น้องปังปอนด์ นำผลงานภาพวาดโขนบางส่วนของน้อง ที่วาดตั้งแต่ ป.2 ถึงป.6 มาให้เพื่อน ที่เป็นดีไซน์เนอร์เสื้อผ้าดู ......เพื่อนม่วยขับรถมาจากกรุงเทพปลิ้มมาก ได้ไอเดียไปต่อยอดคอลเลคชั่นใหม่ๆ ช่วยเป็นกำลังใจอีกแรง สนับสนุนน้องให้คงงานศิลปะโขนต่อไป

อนาคตทุกอย่าง ก็อาจกำหนดได้ด้วยตัวเขาเอง หากเราเชื่อในศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กทุกคน

เพียงพ่อแม่ คุณครู สังคม เปิดใจกว้าง ทำความเข้าใจเด็ก ADHD/LD ให้กำลังใจเด็กที่อาจดูว่ามีปัญหาการเรียน อ่านเขียนไม่คล่อง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่ฝึกฝนทักษะภาคปฏิบัติ ของงานวิชาชีพในอนาคต เขาก็มีผลงานเป็นรูปธรรม มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ให้พ่อแม่ภูมิใจ ตั้งแต่ประถมปลาย ม.ต้นเแล้ว

โรงเรียนนาฎศิลป์ โรงเรียนสอนด้านดนตรี ด้านการแสดง ศิลปะ หัตถกรรม กีฬา พลศึกษา การทำอาหาร การเกษตร ช่างยนตร์ อิเลคโทรนิกส์ คอมพิวเตอร์ ควรพัฒนาหลักสูตรการสอนภาคปฎิบัติ มารองรับเด็กเก่งกลุ่มนี้ตั้งแต่ ม. 1

ระบบการศึกษาไทยที่ผูกตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนการสอนไว้กับการสอบ O-Net A-Net ก็จะได้แต่เด็กที่อ่าน เขียน คำนวณเก่งพํฒนาแต่สายวิชาการที่ต้องมีพื้นฐานความสามารถด้านภาษา คณิต วิทย์ สังคม มุ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีค่าคะแนนบวก หรือตัวชี้วัดที่พัฒนาความสามารถของกลุ่มเด็กที่มีปัญหาการอ่าน เขียน แต่เก่งศิลปะดนตรีกีฬาความคิดสร้างสรรค์ด้านต่างๆรวมถึงคอมพิวเตอร์ไอทีที่ไม่อาศัยความสามารถด้านการอ่านเขียนคำนวณ เด็กกลุ่มนี้จึงได้รับการประเมิน คัดกรองออกมาไม่ให้ปะปนกับผลการสอบ O-Net ,A-Net เท่านั้น และยังมองว่าไม่ควรให้สอบผ่านชั้นเรียนได้ตั้งแต่ ป.1 ป.2 แม้จะมีทักษะด้านอื่นอีกหลายอย่างในตัวเขา ที่ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาไปควบคู่กับการแก้ไขความบกพร่องของการอ่าน เขียน

ด้วยกรอบความคิดชองหลักสูตรการศึกษาที่พัฒนามาจากนักวิชาการที่เก่งทฤษฏี
ก็จะมองไม่เห็นศักยภาพที่รอบด้านของเด็ก นโยบายปลอดการอ่านไม่ออก เชียนไม่ได้ ทำให้ผู้บริหารและคุณครูก็จะมาเร่งและเข้มงวดให้อ่าน เขียนกันได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ทั้งที่วัยอนุบาลและประถมต้น ควรเรียนรู้ทักษะทุกด้านอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์ การอ่านเขียนก็ประคับประคองกันไปในเด็กที่มีปัญหามาก เน้นพัฒนาด้านบวกด้านถนัดชองเด็กแต่ละคนไปก่อน ไม่จำเป็นต้องขีดเส้นว่า อ่าน เขียน คำนวณต้องทำให้ได้มากกว่า 60-80 %ในเด็กทุกคนที่จะให้สอบผ่านชั้นเรียนได้

เด็กกลุ่มที่มีปัญหาอ่าน เขียน หรือสมาธิสั้น ส่วนใหญ่มีพื้นฐานด้านทักษะต่างๆที่มากและเก่งพอ ที่จะศึกษาต่อสายวิชาชึพ อาชีวะที่มีคุณภาพ ประกวดในเวทีโลก ทั้งการประกอบหุ่นยนตร์ แกะสลักน้ำแข็ง การเป็นเชฟทำอาหาร ล้วนอยู่ระดับแนวหน้า สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในบริบทของวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์แบบไทยๆ ที่ไม่มีในหลักสูตรของตะวันตก

ขอขอบคุณ คุณแม่น้องปังปอน

ธนัชญา แขวงโสภา ที่อนุญาตให้ลงเรื่องราวและการสัมภาษณ์ของน้องปังปอน เพื่อเป็นวิทยาทานในเว็บเพจน์นี้ได้

 

https://www.youtube.com/watch?v=ZfsQVZ1TZFc&feature=youtu

 

Comments powered by CComment